
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์
สาขาวิชานิเทศศิลป์
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายที่จะใช้ศิลปะ และการออกแบบในสาขาต่างๆ เข้าไป มีส่วนช่วยเสริมการผลิตในระบบอุตสาหกรรม ให้มีคุณค่า และเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น และเพื่อสร้างบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการ ในเชิงธุรกิจ และอุตสาหกรรม มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีแนวทางในการพัฒนา คณะศิลปกรรมศาสตร์ ที่สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยเน้นความเป็นสากล การพัฒนาสังคม สร้างความพร้อมในเชิงบริหาร และการจัดการวิชาการ เพื่อให้การดำเนินการเป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติ
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศิลป์
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Visual Communication Design
ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศิลป์
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Visual Communication Design
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญาภาษาไทย: ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (นิเทศศิลป์)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Fine and Applied Arts (Visual Communication Design)
อักษรย่อภาษาไทย: ศป.บ. (นิเทศศิลป์)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.F.A. (Visual Communication Design)
ชื่อปริญญาภาษาไทย: ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (นิเทศศิลป์)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Fine and Applied Arts (Visual Communication Design)
อักษรย่อภาษาไทย: ศป.บ. (นิเทศศิลป์)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.F.A. (Visual Communication Design)
วิชาเอก
- วิชาเอกคอมพิวเตอร์กราฟิก
- วิชาเอกออกแบบกราฟิกและโฆษณา
- วิชาเอกโทรทัศน์และดิจิตอลมีเดีย
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 135 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
- รูปแบบ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
- ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย
- การรับเข้าศึกษา รับนิสิตไทย หากนิสิตต่างชาติมีความรู้ในภาษาไทยก็สามารถสมัครเข้าศึกษาได้
- ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบัน
- การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ประกอบวิชาชีพศิลปิน นักออกแบบสร้างสรรค์ กราฟิกดีไซน์เนอร์, นักออกแบบโฆษณา, นักออกแบบทางคอมพิวเตอร์กราฟิก, นักสร้างภาพเคลื่อนไหว, นักออกแบบโมเดล 3 มิติ, นักออกแบบ สื่อทางโทรทัศน์, นักออกแบบสื่อทางมัลติมีเดีย โดยเน้นทางการออกแบบสื่อสาร เป็นหลัก
ประกอบวิชาชีพศิลปิน นักออกแบบสร้างสรรค์ กราฟิกดีไซน์เนอร์, นักออกแบบโฆษณา, นักออกแบบทางคอมพิวเตอร์กราฟิก, นักสร้างภาพเคลื่อนไหว, นักออกแบบโมเดล 3 มิติ, นักออกแบบ สื่อทางโทรทัศน์, นักออกแบบสื่อทางมัลติมีเดีย โดยเน้นทางการออกแบบสื่อสาร เป็นหลัก
ชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง และคุณวุฒิของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
นายกฤษฎา แสงสืบชาติ
ศป.ม. (ศิลปะสมัยใหม่), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2540
ศศ.บ. (นิเทศศิลป์), สถาบันราชภัฏพระนคร, 2537
ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
นายชัยยศ วนิชวัฒนานุวัติ
ปร.ด (ทัศนศิลป์และการออกแบบ) มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2556
ค.อ.ม. (เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ, 2540
กศ.บ. (ศิลปศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน, 2526
ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร มุ่งเน้นให้นิสิต เห็นความต้องการของเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมผ่านการเรียนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะของคณะศิลปกรรมศาสตร?มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวคือ มีการนำปัญหาการออกแบบ หรือโครงการออกแบบจากหน่วยงานภายนอก มาเป็นส่วนปฏิบัติงานให้นิสิต ได้ทดลองปฏิบัติงาน ในลักษณะ Art Project Base Learning (APBL)
โดยหวังผลสัมฤทธิ์ ต่อสังคมในระดับพอใจ โดยคำนึงถึงวิถีการออกแบบ ที่แสดงอัตลักษณืเฉพาะของไทย สู่การออกแบบร่วมสมัยการเรียนการสอนในลักษณะนี้จะเป็นการเรียนการสอนที่มีลักษณะกึ่งการวิจัยและพัฒนา (R&D)
ปรัชญา
"เป็นเลิศวิชาการ สานสร้าง ศิลปกรรม เชิดชูคุณธรรม มุ่งนำสู่สากล"
ความสำคัญ
การศึกษาหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดแนวความคิดสร้างสรรค์ สำหรับการออกแบบของบัณฑิตในอนาคต เพื่อสร้างงานที่เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กร มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีให้มีความรู้ทั้งภาคปฏิบัติทางด้านการออกแบบนิเทศศิลป์
2.มีทัศนคติในการแสวงหาความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และประสบการ์ในด้านการออกแบบในวิชาเอกคอมพิวเตอร์กราฟิก วิชาออกแบบกราฟิกและโฆษณา และวิชาโทรทัศน์และดิจิตอลมีเดีย
3.สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ พัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับปรัชญาของคณฯ และมหาวิทยาลัย
4.สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำรงณ์ไปใช้ในการพัฒนาและสร้างสรรค์สังคม
5.เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม สำนึกในวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
จำนวนหน่วยกิต หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 136 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาอัตลักษณ์และคุณภาพชีวิตบัณฑิตบูรพา ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาทักษะชีวิตและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 7 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชานวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ 100 หน่วยกิต
- วิชาแกน 6 หน่วยกิต
- วิชาเฉพาะด้าน 15 หน่วยกิต
- วิชาเอก 49 หน่วยกิต
- วิชาเอกเลือก 30 หน่วยกิต
Present SIGUM
สาขานิเทศศิลป์
แบ่งออกเป็น 3 เอก
- เอกคอมพิวเตอร์กราฟิก
- เอกออกแบบกราฟิกและโฆษณา
- เอกโทรทัศน์และดิจิตอลมีเดีย
Computer graphics
การสร้างและการจัดการกับภาพกราฟิกโดยใช้คอมพิวเตอร์ (ซึ่งโดยมากจะเป็นการแสดงออกทางจอภาพ และเครื่องพิมพ์ชนิดต่างๆ)
คอมพิวเตอร์กราฟิก จะเกี่ยวกับ การออกแบบคาแรกเตอร์ ,การวาด storyboard ,การทำ 3d
ปัจจุบันภาพกราฟิกมีบทบาทกับงานด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เช่น งานนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของ เส้นกราฟ กราฟแท่ง แผนภูมิ การใช้ภาพกราฟิกประกอบการโฆษณาสินค้าต่าง ๆ การสร้างเว็บเพจ การสร้างสื่อการสอน (CAI) การสร้างการ์ตูน การสร้างโลโก และงานออกแบบต่าง ๆ เป็นต้น โดยภาพกราฟิกจะทำให้งานมีความสวยงามและน่าสนใจยิ่งขึ้น



Advertising and Graphic Design
ออกแบบกราฟิกและโฆษณา จะออกแบบสื่อที่ต้องอยู่กับสินค้านานาชนิด ทำงานออกแบบได้หลายประเภททั้งสิ่งพิมพ์ บิลบอร์ด แพคเกจ โปรแกรมหลักๆที่ ต้องทำได้ทำคล่องคือ Illustrator และ Photoshop


Television and Digital Media
โทรทัศน์และดิจิตอลมีเดีย เกี่ยวกับการถ่ายทำภาพยนตร์ การตัดต่อด้วยโปรแกรมตัดต่อ เช่น Adobe Premiere Pro , After Effects การถ่ายภาพด้วย กล้อง DSLR



และสามารถ เข้าไปดูรายละเดอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://fineart.buu.ac.th/